ตำรวจทางหลวง หลายคนอาจจะคุ้นชื่อแต่ไม่รู้ว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง มาทำความรู้จักกันว่า ตำรวจทางหลวงคืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง เป็นเหมือนตำรวจจราจรหรือเปล่า แล้วสุดท้ายมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตำรวจทางหลวง คือ
ตำรวจทางหลวง คือ เจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยบนทางหลวง ซึ่งในหลายประเทศจะรวมถึงตำรวจจราจรด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระบบราชการของแต่ละประเทศ
สำหรับประเทศไทย ตำรวจทางหลวง คือ ตำรวจจากกองบังคับการตำรวจทางหลวง สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง มีหน้าที่ดูแลทางหลวงแผ่นดินนอกเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีหมายเลข 1-3 ตัว รวมทั้งทางหลวงพิเศษด้วย
โครงสร้างการบริหารงาน
โดยตำรวจทางหลวง มีโครงสร้างการบริหารงานแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
- ฝ่ายอำนวยการ
- กองกำกับการ 1 (สระบุรี)
- กองกำกับการ 2 (นครปฐม)
- กองกำกับการ 3 (ชลบุรี)
- กองกำกับการ 4 (ขอนแก่น)
- กองกำกับการ 5 (ลำปาง)
- กองกำกับการ 6 (อุบลราชธานี)
- กองกำกับการ 7 (สงขลา)
- กองกำกับการ 8 (รามอินทรา)
อำนาจหน้าที่ของตำรวจทางหลวง
มีอำนาจหน้าที่หลัก ๆ คือการดูแลรักษาความสงบในเขตทางหลวง
- การสอบสวนอุบัติเหตุ
มีหน้าที่สอบสวนอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เกิดบนทางหลวง รวมถึงการรวบรวมหลักฐาน ต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุในอุบัติเหตุนั้น ๆ เช่น รูปภาพหรือพยานบุคคล
- การบังคับใช้กฎหมายและกฎจราจร
มีหน้าที่ บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางหลวง การจราจร และการขนส่ง เพื่อให้ผู้ใช้ถนนสะดวก ที่สำคัญเพื่อรักษาความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนนในเขตทางหลวง เช่น การจำกัดความเร็ว
- การดูแลเหตุฉุกเฉิน
มีหน้าที่ในการดูแลเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน รวมถึงการป้องกันพื้นที่อุบัติและปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ ก่อนที่จะส่งต่อให้กับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น โรงพยาบาล
- การบำรุงรักษาถนน
มีหน้าที่สังเกตและรายงานความเสียหายที่เกิดบนทางหลวง ทั้งความเสียหายจากการใช้งาน, ความเสียหายจากภัยพิบัติ และความเสียหายจากอุบัติเหตุ
- การให้ข้อมูลแก่ประชาชน
มีหน้าที่ให้ข้อมูลการจราจรแก่ประชาชน และยังต้องส่งเสริมการขับขี่ที่ปลอดภัยบนท้องถนนโดยปฏิบัติเป็นตัวอย่างด้วย
การตั้งจุดสกัดของตำรวจทางหลวง
พูดถึงเรื่องการตั้งจุดสกัดของตำรวจทางหลวง เราต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ กฎหมาย ว่าด้วยเรื่อง “มาตรการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กันก่อนว่า ด่านตรวจ, จุดตรวจ และจุดสกัด ต่างกันอย่างไร
- ด่านตรวจ
คือ สถานที่ที่ตำรวจใช้ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ และการตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
- จุดตรวจ
คือ สถานที่ที่ตำรวจใช้ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขต “ทางเดินรถ หรือทางหลวง” โดยกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วต้องยุบเลิกจุดตรวจทันที
- จุดสกัด
คือ สถานที่ที่ตำรวจใช้ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขต “ทางเดินรถ หรือทางหลวง” ในกรณีมีเหตุเร่งด่วนและจะยุบไปเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว
การจัดตั้งจุดตรวจและจุดสกัด มีหลักการคือ “ห้ามมิให้ตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด ในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง” และจุดสกัดจะตั้งได้เฉพาะเวลามีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือเร่งด่วนและจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาก่อน ที่สำคัญการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจใน ด่านตรวจ, จุดตรวจ และจุดสกัด จะต้องมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรระดับรองสารวัตรขึ้นไป เป็นหัวหน้า และตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ต้องแต่งเครื่องแบบเท่านั้น
การโบกรถให้จอดบนทางหลวง
อย่างที่ทราบกันตำรวจทางหลวงมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบในเขตทางหลวง หลายครั้งที่พวกเขาจะตั้งด่านเพื่อสกัดรถให้ชะลอและจอด แต่จริง ๆ แล้วการโบกรถให้จอดบนทางหลวง มีหลักการอย่างไรบ้าง
- ตำรวจทางหลวงโบกรถได้ทุกคันไหม
มีอำนาจในการโบกรถเพื่อตรวจความผิดปกติของรถยนต์หรือสิ่งของที่บรรทุกมา แต่ไม่สามารถโบกรถได้ทุกคัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์เฉพาะหน้า เช่น ผู้ขับขี่อาจมีพฤติกรรมที่ขับขี่ไม่ปลอดภัย, รถของผู้ขับขี่มีลักษณะคล้ายรถที่อยู่ในหมายจับ หรือรถของผู้ขับขี่มีความผิดปกติที่อาจทำให้เกิดอุบัติ เช่น ยางแตก ท่อไอเสียมีปัญหา
- ทำไมจึงมีการโบกรถ
ตาม พ.ร.บ.ทางหลวง มาตรา 23 ที่ว่า “พนักงานจราจร หรือ ตำรวจทางหลวง สามารถเรียกยานพาหนะให้หยุดเพื่อทำการตรวจสอบได้ ในกรณีเชื่อว่ามีการกระทำผิด” ถ้าเข้าค่าย พ.ร.บ. มาตรานี้ ก็สามารถโบกรถให้จอดได้ แต่ข้อกฎหมายในส่วนนี้สามารถตีความได้กว้างมาก เพราะอย่างนั้นพนักงานจราจร หรือตำรวจทางหลวง จะต้องแจ้งเหตุที่ทำให้ต้องจอดรถด้วย
- ถ้าโดนโบกต้องจอดรถไหม
ก่อนอื่นต้องแจ้งก่อนว่า ผู้ที่สามารถโบกรถให้จอดรถได้นั้นคือ “เจ้าพนักงานจราจร หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่จราจร ที่ได้รับมอบหมายตาม พ.ร.บ. จราจร” ซึ่งในที่นี้รวมถึง ตำรวจทางหลวงด้วย หากเป็นตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อื่นมาโบก คุณไม่จำเป็นต้องจอดรถก็ได้ แต่สิ่งที่ควรทำจริงๆ ก็คือ จอดรถเพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่มีเจตนาในการทำผิด หรือปกปิดอะไรอย่าคิดว่าไม่ผิดก็ไม่จอด
อยากเป็นตำรวจทางหลวงต้องเรียนอะไร
สามารถใช้วุฒิการศึกษาในการสมัครได้ตั้งแต่ มัธยมศึกษาปีที่ 3 / มัธยมศึกษาปีที่ 6 / ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) / ประกาศนียบัตรวิชาชีพ เทคนิค (ปวท.) / ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และ อนุปริญญา หรือเทียบเท่า ซึ่งหากผ่านการทดสอบตำรวจ วุฒิการศึกษาเหล่านี้จะนับเป็นลำดับขั้นยศที่จะได้รับ
สำหรับผู้ที่เรียนในระดับมหาวิทยาลัย แนะนำให้เรียน คณะรัฐศาสตร์ และ คณะนิติศาสตร์ จะสามารถนำไปใช้ในการเป็นตำรวจได้จริงหากต้องการเป็นตำรวจทางหลวง และจะได้รับยศเป็นสิบตำรวจตรี เมื่อรับราชการครบ 1 ปี
ชาวบ้านร้องตำรวจทางหลวงลักไก่ ตั้งกล้องจับความเร็วรถวิ่งลงเนิน
ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- อนุทิน ยันไม่คิดเสนอชื่อแข่งชิงประธานสภา
- การละเล่นผีตาโขน คนนับแสนร่วมงานประเพณีปี 2566 ที่ จ.เลย
- ค้าประเวณี รวบแม่เล้าหลอกเด็ก 15 รับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา
- จุรินทร์ นัดถก ส.ส. ประชาธิปัตย์ 2 ก.ค. นี้
ที่มาของบทความ
- https://www.thairath.co.th/2705017
- https://www.thairath.co.th/1892607
- https://www.goventpolice.com
- https://siamrath.co.th
ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่ pmedeals.com
สนับสนุนโดย ufabet369